แบบรายงานผลการปฏิบัติงานตามข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA)

แบบรายงานผลการปฏิบัติงานตามข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA)

สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการ

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

ระหว่างวันที่ 1 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 ถึงวันที่ 30 เดือนกันยายน พ.ศ. 2567


ผู้จัดทำข้อตกลง

ข้อมูลของผู้ขอรับการประเมิน
ชื่อ
นายทศพร นามสกุล เกื้อคลัง ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
สถานศึกษา
โรงเรียนบ้านเขาปูน
สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 ประเภทห้องเรียนที่จัดการเรียนรู้ ห้องเรียนวิชาสามัญหรือวิชาพื้นฐาน

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

1.ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566
1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 24 ชั่วโมง/สัปดาห์ ดังนี้

รายวิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
รายวิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
รายวิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
รายวิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
รายวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์
รายวิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
รายวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์
รายวิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
รายวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์
รายวิชาการออกแบบเทคโนโลยี 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
รายวิชาโปรแกรมประมวลคำ 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
รายวิชาการออกแบบเทคโนโลยี 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
รายวิชาคอมพิวเตอร์สำนักงาน 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์
รายวิชาการออกแบบเทคโนโลยี 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
รายวิชาการเขียนเว็บเบื้องต้น 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์
รายวิชาการป้องกันการทุจริต 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
แนะแนว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
ชุมนุมคอมพิวเตอร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์
งานฝ่ายบริหารงานกิจการนักเรียน จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
งานฝ่ายปกครอง จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
งานฝ่ายทะเบียน จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์
งานดูแลและติดตามการใช้สารเสพติดในสถานศึกษา จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
งานการใช้สารเสพติดในสถานศึกษา จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 23 ชั่วโมง/สัปดาห์ ดังนี้
รายวิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
รายวิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
รายวิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
รายวิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
รายวิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
รายวิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
รายวิชาวิทยาการคำนวณ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
รายวิชาโปรแกรมประมวลคำ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
รายวิชาการงานอาชีพ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์
รายวิชาวิทยาการคำนวณ 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
รายวิชาคอมพิวเตอร์สำนักงาน 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
รายวิชาการงานอาชีพ 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์
รายวิชาวิทยาการคำนวณ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
รายวิชาการเขียนเว็บเบื้องต้น 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
รายวิชาการงานอาชีพ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์
รายวิชาการป้องกันการทุจริต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
แนะแนว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
ชุมนุมคอมพิวเตอร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

งานบริหารงานทั่วไป จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์
งานฝ่ายปกครอง จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์
งานดูแลและติดตามการใช้สารเสพติดในสถานศึกษา จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
งานการใช้สารเสพติดในสถานศึกษา จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์


2. งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู 

1. ด้านการจัดการเรียนรู้

ลักษณะงานที่เสนอให้ครอบคลุมถึง การสร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร การออกแบบการจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การสร้างและหรือพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ การศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ การจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน และการอบรมและพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของผู้เรียน

1.1 การสร้างและหรือการพัฒนาหลักสูตร

จัดทำหลักสูตรและหน่วยการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรเพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาสมรรถนะ และการเรียนรู้เต็มตามศักยภาพ โดยมีการประยุกต์ให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ผู้เรียน และชุมชน

1.2 การออกแบบการจัดการเรียนรู้

เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ คุณลักษณะประจำวิชา คุณลักษณะอันพึงประสงค์และสมรรถนะที่สำคัญตามหลักสูตร โดยมีการปรับประยุกต์ให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ผู้เรียนและชุมชน จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด

จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด

1.3 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้

มีการอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ และส่งเสริมผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ เรียนรู้และทำงานร่วมกัน โดยมีการปรับประยุกต์ให้สอดคล้องกับความแตกต่างของผู้เรียนตามบริบทของสถานศึกษา

1.4 การสร้างและพัฒนาสื่อนวัตกรรม

– มีการสร้างและหรือพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้ โดยมีการปรับประยุกต์ให้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้

– จัดทำสื่อที่ส่งเสริมพัฒนานักเรียนโดยใช้เทคโนโลยี เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) , E-Book

– พัฒนาแหล่งเรียนรู้ ห้องเรียนปฏิบัติการคอมฯให้พร้อมใช้บริการ


1.5 การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้

– มีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เหมาะสม และสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนพัฒนาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

– สร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลเพื่อการพัฒนาผู้เรียนตามสภาพจริงและวัดการวิเคราะห์

1.6 การศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้

– มีการศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนาการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน

– วิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล

– จัดกลุ่มนักเรียน

– วางแผนพัฒนานักเรียนตามศักยภาพและความแตกต่างระหว่างบุคคล

1.7 การจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน

– มีการจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน ให้เกิดกระบวนการคิด ทักษะชีวิต ทักษะการทำงาน ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี

– จัดบรรยากาศห้องเรียนให้ได้มาตรฐานห้องเรียนคุณภาพ (Onsite)

– จัดกระบวนการเรียนรู้ (Online-Onhand)

1.8 อบรมและพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของผู้เรียน

มีการอบรมบ่มนิสัยให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และค่านิยมความเป็นไทยที่ดีงาม จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์


2. ด้านการส่งเสริมและสนับสนุน

การจัดการเรียนรู้ลักษณะงานที่เสนอให้ครอบคลุมถึงการจัดทำข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชาการดำเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน การปฏิบัติงานวิชาการและงานอื่นๆ ของสถานศึกษา และการประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง ภาคีเครือข่าย และหรือสถานประกอบการ

2.1 จัดทำข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชา

 มีการจัดทำข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชา เพื่อใช้ในการส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ และพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

– จัดทำรายงานข้อมูลสารสนเทศผู้เรียนรายบุคคลและข้อมูลรายวิชาที่สอนผ่านระบบออนไลน์ Line Meetting หรือ Zoom หรือใช้โปรแกรมแบบ ปพ.5

2.2 ดำเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

– การออกเยี่ยมบ้าน คัดกรองนักเรียน รวมไปถึงผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการให้ความช่วยเหลือตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

– มีการใช้ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียนรายบุคคล และประสานความร่วมมือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาผู้เรียน

– มีการใช้ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับ เรียนรายบุคคล และประสานความร่วมมือ

2.3 ปฏิบัติงานวิชาการ และงานอื่นๆ ของสถานศึกษา

ปฏิบัติกลุ่มบริหารงานทั่วไป

ปฏิบัติงานระบบสารสนเทศและเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (ICT) ภายในสถานศึกษา

ร่วมปฏิบัติงานทางวิชาการ และงานอื่นๆ ของสถานศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพของการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

ร่วมจัดกิจกรรมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

ร่วมกิจกรรมการจัดทำแผนการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR)

2.4 ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง ภาคีเครือข่าย และหรือสถานประกอบการ

ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง ภาคีเครือข่าย และหรือสถานประกอบการ เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียน

ร่วมกิจกรรมประชุมผู้ปกครอง

จัดให้มีช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับผู้ปกครองและภาคีเครือข่าย

3. ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ

ลักษณะงานที่เสนอให้ครอบคลุมถึงการพัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง การมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้และการนำความรู้ความสามารถ ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และการพัฒนานวัตกรรมและการจัดการเรียนรู้

3.1 พัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

เพื่อให้มีความรู้ความสามารถ ทักษะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี เพื่อการศึกษา สมรรถนะวิชาชีพครูและความรอบรู้ในเนื้อหาวิชาและวิธีการสอน


ศึกษาต่อระดับปริญญาเอก

3.2 การมีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการจัดการเรียนรู้

– เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งภายในและระหว่างสถานศึกษา

3.3 นำความรู้ ความสามารถ ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้

-การเข้าร่วมการอบรม/การประชุมรูปแบบต่าง ๆ ทั้งแบบ On Line และแบบเข้าร่วมอบรม ที่สามารถนำความรู้มาพัฒนาการจัดการศึกษาให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ปัจจุบัน
-การทำกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพกับกลุ่มสาระอื่น ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาการเรียนรู้ของผู้เรียนในแต่ละชั้นที่รับผิดชอบ

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งครู (วิทยฐานะชำนาญการ) ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง คือ แก้ไข ปัญหา การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือ มีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังที่สูงกว่าได้)

ประเด็นท้าทาย เรื่อง การประยุกต์ใช้งานโปรแกรม Canva เพื่อจัดการเรียนการสอน รายวิชาการออกแบบเทคโนโลยี 3 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566           

การประยุกต์ใช้งานโปรแกรม Canva เพื่อจัดการเรียนการสอน รายวิชาการออกแบบเทคโนโลยี 3 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566    

มีวิธีการดำเนินการโดยผ่านกระบวนการ ADDIE Model มีลำดับขั้นตอนในการดำเนินการสร้าง 5 ขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้        

1) Analysis (ขั้นการวิเคราะห์)

2) Design (การออกแบบ)

3) Development (การพัฒนา)

4) Implement (การดำเนินการ)

5) Evaluation (การประเมินผล)

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเขาปูน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 23 คน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชา การออกแบบเทคโนโลยี 3 คิดเป็นร้อยละ 88.46 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด จำนวน 26 คน มีคะแนนสูงกว่า 60 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน

ติดต่อเรา